มด

 มด (Ant)

             มดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นดิน ทั่วโลกพบมดที่จัดจำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รายงานว่ามีการพบมดแล้วทั้งหมด 9 วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิดมดที่พบมากและเกี่ยวข้องกับเรา ได้แก่ มดคันไฟ, มดละเอียด, มดเหม็น, มดง่าม, มดแดง,มดตะนอย

พฤติกรรมที่น่าสนใจของมด?

1.  พฤติกรรมการผสมพันธุ์และสร้างรัง  เมื่อมีประชากรในรังหนาแน่นมาก จะทำการขยายรัง  โดยมดเพศเมียและมดเพศผู้ที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์  จะบินออกจากรังเดิม  เพื่อทำหน้าที่ค้นหาการผสมพันธุ์ เมื่อพบ สถานที่ที่เหมาะสมแล้ว ราชินี จะสลัดปีกออก และวางไข่เมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ราชินี จะผลิตราชินีและมดเพศผู้รุ่นใหม่เพื่อขยายรังต่อไป

2.  พฤติกรรมการหาอาหาร  มดออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน  เมื่อพบแหล่งอาหารก็จะปล่อยฟีโรโมนเรียกตัวอื่นให้มาช่วยขนอาหารกลับไปที่รัง  มดงานจะเก็บสะสมอาหารพวกน้ำตาลไว้ในกระเพาะจนเต็ม  แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกในรังได้เป็นจำนวนมาก โดยใช้วิธีสำรอก ออกมาในเวลาไม่เกิน 20 ชั่วโมง

3.  พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร  มดมีการติดต่อสื่อสารที่เรียกว่าการปล่อยสาร "ฟีโรโมน" ซึ่งมีหลายชนิดได้แก่

     •  ฟีโรโมนนำทาง (Trail pheromone) โดยจะปล่อยไว้ระหว่างทางออกหาอาหาร เพื่อให้สมาชิกตัวอื่นๆตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง

     •  พีโรโมนเตือนภัย (Alarm pheromone)  ถ้าปล่อยสารออกมาปริมาณน้อย จะเป็นการเตือนภัย  แต่ถ้าปล่อยออกมาในปริมาณมาก จะสามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างได้ เช่น โจมตี ขุดรู

     •  ฟีโรโมนอื่นๆ ที่มดจะช่วยกันปล่อยออกมาตามสถานการณ์ต่างๆ เช่นการควบคุมสมาชิกในรัง

4.  พฤติกรรมการใช้เสียง  มดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียง เพื่อเป็นการเตือนภัย เรียกสมาชิกให้อยู่รวมกัน

อาหารของมด

มดกิน อาหารได้หลากหลาย น้ำหวานตามธรรมชาติ,น้ำเลี้ยงของพืช, เมล็ดพืช,ของเหลวในร่างกายของแมลงชนิดอื่น, เศษอาหารของมนุษย์ , เนื้อสัตว์ ซากสัตว์

วิวัฒนาการของมด

มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์(complete metamorphosis) โดยในวงจรชีวิตจะประกอบด้วย ไข่ ตัวหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย  เนื่องจากมดเป็นแมลงสังคมรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกให้เห็น ชัดเจน ประกอบด้วย

     (a): มดเพศเมียที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ที่จะเป็นมดแม่รัง (queen) ต่อไป ทำหน้าที่ในการตั้ง colony และวางไข่ จะมีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นๆ ที่อยู่ในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ และ มักมีตาเดี่ยว

     (b): มดเพศผู้ที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์  โดยทั่วไปจะมีปีก ส่วนอกหนาแต่ไม่เท่าของแม่รัง มีหน้าที่ผสมพันธุ์ จะพบเป็นจำนวนน้อยในแต่ละรัง

     (c): queen ที่ไม่มีปีก

     (d): มดงานแบบ minor worker และแบบ major worker  เป็นมดเพศเมียที่ออกหาอาหาร  เป็นมดที่เรามักพบเป็นประจำนอกจากหาอาหารแล้วมดงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและรักษารังดูแลตัวอ่อนและราชินี 

แหล่งเพาะพันธุ์

มดที่มีวิวัฒนาการสูงจะผสมพันธุ์บนที่สูง เช่น บนต้นไม้ มดที่มีวิวัฒนาการต่ำ จะผสมพันธุ์บนพื้นดิน

ข้อแนะนำ

หมั่นทำความสะอาดหรือปิดอาหารให้มิดชิด เก็บเศษอาหารทุกประเภทเพราะสามารถดึงดูดให้มดเข้ามารบกวนในบ้านเรือนได้

 

                                    

  

       บริเวณนอกบ้าน
           และในบ้าน

 

 

 

Visitors: 239,934